วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวคิดทฤษฎีของนักจิตวิทยา (ต่อ)

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory lening)

       การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)
     พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ – จำ ความเข้าใจ
     พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ
     พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory leaning) แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ

     ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Associative)
          การเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้ามาเชื่อมโยงทำให้เกิดการตอบสนองขึ้น
แบ่ง 2 กลุ่ม

    - ทฤษฎีความเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism)
               นักทฤษฎี Thorndike ,Guthrie ,Hull

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning)
    - แบบคลาสสิค (Classical) ได้แก่ Pavlov
    - แบบการกระทำ (Operant) ได้แก่ Skinnre

ทฤษฎีความเข้าใจ (สนาม)
   ได้แก่ Gestalt
    - เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
    - คอฟกา (Kurt Kofga.   
    - เลอวิน (Kurt Lewin)
    - โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)

ทฤษฎีเชื่อมโยง Thorndike  หรือเรียกว่า ทฤษฎีลองผิดลองถูก (Trial and Error) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

การทดลอง เอาแมวหิวใส่กรง

สิ่งเร้า S  R2  S R  R3  การตอบสนอง

กฎการเรียนรู้ 3 กฎ

กฎแห่งผล (Law of Effect) คือ การเรียนรู้จะเกิดผลดีถ้ามีการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่พอใจ
  - กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ได้รับการฝึกฝนบ่อยครั้ง
  - กฎแห่งการใช้ (Law of Used) มีการกระทำหรือใช้บ่อย ๆ การเรียนรู้จะยิ่งคงทนถาวร
  - กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) ไม่มีการกระทำหรือไม่ใช้การเรียนรู้ก็อาจเกิดการลืมได้
  - กฎแห่งความพร้อม ((Law of Leadines)การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน
      หลักการที่สำคัญของทฤษฎีนี้ ถือว่า รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ วิธีการให้รางวัลสมควรให้ผู้เรียนให้ทันทีที่ได้กระทำพฤติกรรมนั้น

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Skinner’ s Operant Conditioning)

      การทดลอง เอนหนูใส่กล่องเก็บเสียงฝากล่องมีคานยื่นมา เมื่อหนูกดคานจะบังคับอาหารให้หล่นลงมา

             หนูต้องทำจึงได้รับ  R (การกดคาน)  S (อาหาร)

      การเสริมแรง เป็นหลักในการนำมาสร้างบทเรียนโปรมแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป (จะมีคำถามและคำตอบ)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ของ Pavlov

      การทดลอง เอาหมาที่กำลังหิวยืนบนแท่นมีที่รั้งไม่ให้สุนัขเคลื่อนที่ เจาะรูเล็ก ๆ ที่แก้มเอาหลอดยาใส่ท่อน้ำลาย

ผลการทดลองของ ฟาลอฟ ประกอบด้วย

       วางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

       ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการวางเงื่อนไขพร้อม ๆ กัน คือให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขในเวลาพร้อมกัน

กฎการเรียนรู้ 4 กฎ

   - กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก
   - กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้งก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก
   - กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข อินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
   - กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ
     ฉะนั้นหลักการสำคัญ Classical Conditioning จะเน้นปฏิกิริยาสะท้อนของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และนำเอาปฏิกิริยาสะท้อนเหล่านั้นมาวางเงื่อนไขคู่กับ สิ่งเร้าต่าง ๆ สิ่งเร้าต่าง ๆ จะทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้น

กฎการเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)

     การเรียนรู้เรียนที่เน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ

      การรับรู้ (Perception) การแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส 5 ส่วน 
        หู- ตา – จมูก – ลิ้น – กาย
      การหยั่งเห็น (Insight) การเกิดความคิดขึ้นมาทันทีทันใดในขณะประสบปัญหา โดยการมองเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก จนแก้ปัญหาได้

สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ แต่ละท่านได้ดังนี้

การเรียนรู้แบบหยั่งรู้ (Insight Learning) เจ้าของทฤษฎีคือ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยจะรวมปัญหาแล้วจึงแยกเป็นข้อย่อย ก็จะเกิดความคิดขึ้นมาทันที ที่เรียกว่าการหยั่งเห็น 
การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นอยู่กับ
1. มีแรงจูงใจ , 2. มีประสบการณ์เดิม ,3.มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับปัญหาได้

     หลักการเรียนรู้ของ เลอวิน (Kurt Lewin) ได้แยกมาตั้งทฤษฎีใหม่ ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การเรียนรู้เกิดจากการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น แล้วพยายามชักนำพฤติกรรมการเรียนรู้ไปจุดหมายปลายทาง (goal) เพื่อตอบสนองแรงขับที่เกิดขึ้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

    การเรียนรู้อย่างหนึ่งแล้วมีผลต่อการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง อาจมีผลทางบวก ลบ ก็ได้ เช่น การเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง

    ก็สามารถถ่ายโยงไปมีผลกับเรื่องแยกตัวประกอบได้ การถ่ายโยงจึงเป็นการที่บุคคลนำสิ่งหนึ่งไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่ง

การถ่ายโยงการเรียนรู้มี 2 ประเภท

1.การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทบวก (Positive Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการเรียนรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางดีขึ้น
     เรียนคณิตศาสตร์เก่งจะนำไปสู่การเรียน ฟิสิกส์ เคมี ได้ดี
     การเตะบอล นำไปสู่การเล่นทีม

2.การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทลบ (Negative Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางเลวลง
      การขับรถเมืองไทย เลนซ้าย ไปอีกประเทศหนึ่งต้องขับเลนขวา ทำให้ประสิทธิภาพลดลง
ปัจจัยเสริมการเรียนรู้

แรงขับ (Drive) แรงผลักดันที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อให้ร่ายกายแสดงพฤติกรรมออกมา แรงขับเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกาย
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายในมีความสำคัญมาก เช่น หิว กระหาย อยากเรียน
2. แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการรางวัล
     ความพร้อม (Readiness) ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ พร้อมที่จะตอบสนองกับสิ่งที่มาเร้า
ทางร่างกาย ได้แก่ วุฒิภาวะ (Maturity) - ทางจิตใจ ได้แก่ ความพอใจ
วุฒิภาวะ (Maturity) การบรรลุถึงขั้นความเจริญเติบโตเต็มที่ ในระยะใดระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมได้พอเหมาะกับวัย

ทำไมต้องเรียนจิตวิทยา (ต่อ)


 แรงจูงใจ
1. ความต้องการทางกาย
• แรงขับความกระหาย
• แรงขับความหิว
• แรงขับทางเพศ
2. ความต้องการทางจิต
• ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity Motives)
• ความต้องการของเมอร์เรย์ มี 28 ชนิด
• สัญชาตญาณ  ซิกมันด์ ฟรอยด์ วิเคราะห์จิตมนุษย์เป็น 3 ส่วน คือ
1. Id เป็นจิตใต้สำนึก
2. Ego เป็นจิตสำนึก เป็นจิตที่มีเหตุผล
3. Super ego หรือ มโนธรรมประจำใจ
• McClelland สรุปความต้องการทางจิต มี 3 อย่างคือ
1. ความต้องการอำนาจ (Power Need
2. ความต้องการเป็นที่ชอบพอ (Affiliation Need)
3. ความต้องการความสำเร็จ (Achievement Need)
• ความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ (Needs Hierarchy)
1. ความต้องการด้านสรีระ (Physiological Needs)
2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs)
3. ความต้องการความรักหรือสังคม (Belongingness or Social Needs)
4. ความต้องการความนิยมนับถือในตนเอง (Esteem Needs)
5. ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตน (Self-Actualization)
• ทฤษฎีการเสริมแรง (Theory of Reinforcement) ของ สกินเนอร์
- ตัวเสริมแรง คือ สิ่งที่ทำให้พฤติกรรมหนึ่งๆ เกิดบ่อยครั้งมากขึ้น
- การเสริมแรง คือ การให้ตัวเสริมแรงต่อพฤติกรรมปรารถนา


จิตวิทยาทั่วไป

อารมณ์ มีหน้าที่

1. ตัวเร้าให้เกิดพฤติกรรม
2. มีอิทธิพลต่อการรับรู้
3. ตัวนำและสนับสนุนให้มีการกระทำต่อ
4. การสื่อสารในรูปน้ำเสียง ท่าทาง สีหน้า
พฤติกรรมทางด้านอารมณ์
1. การทำลาย เช่น อารมณ์โกรธ
2. การเข้าใกล้ เช่น อารมณ์ยินดี ชอบ
3. การยอมแพ้/หนี เช่น อารมณ์กลัว
4. การหยุดตอบสนอง เช่น อารมณ์เกลียด
5. การแสดงออกทางน้ำเสียง สีหน้า เช่น อารมณ์ขยะแขยง

อารมณ์ที่เป็นสากล
ชาลส์ ดาร์วิน สังเกตการขยับของกล้ามเนื้อใบหน้า
Ekman
- ทุกคนพูดและเข้าใจภาษาที่แสดงออกทางสีหน้าเหมือนกันได้
- แบ่งการแสดงออกทางสีหน้า 7แบบ
James-Lange​กิจกรรมทางสมองและการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ เกิดก่อนอารมณ์
Cannon-Bard​กิจกรรมทางสมองเกิดพร้อมอารมณ์
Lazarus-Schachter  อารมณ์เกิดจากกระบวนการรู้คิด เน้นประสบการณ์แบบรู้ตัว
อารมณ์พื้นฐาน
Izard แบ่งอารมณ์เป็น อารมณ์พื้นฐาน 10 ชนิด และอารมณ์ซับซ้อน 4 ชนิด
Plutchik แบ่งอารมณ์พื้นฐาน 8ชนิด4คู่
​Joy – Sadness / Fear – Anger / Surprise – Anticipation / Acceptance – Disgust

สิ่งที่มีผลต่ออารมณ์
1. วุฒิภาวะ
2. อารมณ์เรียนรู้ได้
3. ความแตกต่างทางกรรมพันธุ์ส่งผลต่ออารมณ์ โดยทำให้เกิดความรู้สึกไวในระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS )
4. บุคลิกภาพมีผลต่อความรุนแรงของอารมณ์